บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เครือข่ายสังคมออนไลน์

สรุป เครือข่ายสังคมออนไลน์



1. ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
            เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มุ่งเน้นในการสร้างและสะท้อนให้เห็นถึงเครือข่าย หรือความสัมพันธ์ทางสังคม ในกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จะให้บริการผ่านหน้าเว็บ และให้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต
2. ความเป็นมาของเครือข่ายสังคมออนไลน์
              การเกิดขึ้นและเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากเว็บ 1.0 (เว็บเนื้อหา) มาสู่เว็บ 2.0 (เว็บเชิงสังคม) ซึ่งจุดเด่นของเว็บ 2.0 คือ การที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้เอง โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นทีมงานหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งเรียกว่า User Generate Content ข้อดีของการที่ผู้ใช้เข้ามาสร้างเนื้อหาได้เอง ทำให้มีการผลิตเนื้อหาเข้ามาเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของมุมมองความคิด เพราะจากเดิมผู้ดูแลจะเป็นคนคิดและหาเนื้อหามาลงแต่เพียงกลุ่มเดียว
3. ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์
              เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ให้บริการตามเว็บไซต์สามารถแบ่งขอบเขตตามการใช้งานโดยดูที่วัตถุประสงค์หลักของการเข้าใช้งาน และคุณลักษณะของเว็บไซต์ที่มีร่วมกัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของการเข้าใช้งานมีเป้าหมายในการใช้งานไปในทางเดียวกันมีการแบ่งประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ออกตามวัตถุประสงค์ของการเข้าใช้งาน ได้ 7 ประเภท

             1) สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ใช้สำหรับให้ผู้เข้าใช้งานได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบนเว็บไซต์ และสามารถที่จะเผยแพร่เรื่องราวของตนผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยลักษณะของ การเผยแพร่อาจจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ การเขียนข้อความลงในบล็อก อีกทั้งยังเป็นเว็บที่เน้นการหาเพื่อนใหม่ หรือการค้นหาเพื่อนเก่าที่ขาดการติดต่อ                  
การเขียนบทความได้อย่างเสรี ซึ่งอาจจะถูกนำมาใช้ได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
                 1.1 Blog บล็อก เป็นชื่อเรียกสั้นๆ ของ Weblog ซึ่งมาจากคำว่า “Web” รวมกับคำว่า “Log” ที่เป็นเสมือนบันทึกหรือรายละเอียดข้อมูลที่เก็บไว้ ดังนั้นบล็อกจึงเป็นโปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่ใช้เก็บบันทึกเรื่องราว หรือเนื้อหาที่เขียนไว้โดยเจ้าของเขียนแสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ โดยทั่วไปจะมีผู้ที่ทำหน้าที่หลักที่เรียกว่า “Blogger” เขียนบันทึกหรือเล่าเหตุการณ์ที่อยากให้คนอ่านได้รับรู้ หรือเป็นการเสนอมุมมองและแนวความคิดของตนเองใส่เข้าไปในบล็อกนั้น

                 1.2 ไมโครบล็อก (Micro Blog) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้มีลักษณะเด่นโดยการให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความจำนวนสั้นๆ ผ่านเว็บผู้ให้บริการ และสามารถกำหนดให้ส่งข้อความนั้นๆ ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เช่น Twitter
              2) สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ เป็นสังคมสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการแสดงออกและนำเสนอผลงานของตัวเอง สามารถแสดงผลงานได้จากทั่วทุกมุมโลก จึงมีเว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่เสมือนเป็นแกลเลอรี่ (Gallery) ที่ใช้จัดโชว์ผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง อีกทั้งยังมีจุดประสงค์หลักเพื่อแชร์เนื้อหาระหว่างผู้ใช้เว็บที่ใช้ฝากหรือแบ่งปัน โดยใช้วิธีเดียวกันแบบเว็บฝากภาพ แต่เว็บนี้เน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ YouTube, Flickr, Multiply, Photobucket และ Slideshare เป็นต้น

                3) ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทำหน้าที่เก็บในสิ่งที่ชอบไว้บนเครือข่าย เป็นการสร้าง ที่คั่นหนังสือออนไลน์ (Online Bookmarking) มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บหน้าเว็บเพจที่คั่นไว้ในเครื่องคนเดียวก็นำมาเก็บไว้บนเว็บไซต์ได้ เพื่อที่จะได้เป็นการแบ่งปันให้กับคนที่มีความชอบในเรื่องเดียวกัน สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเข้าไปหาข้อมูลได้ และนอกจากนี้ยังสามารถโหวตเพื่อให้คะแนนกับที่คั่นหนังสือออนไลน์ที่ผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และเป็นที่นิยม ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ Digg, Zickr, Ning, del.icio.us, Catchh และ Reddit เป็นต้น

                4) เวทีทำงานร่วมกัน (Collaboration Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ต้องการความคิด ความรู้ และการต่อยอดจากผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความรู้ เพื่อให้ความรู้ที่ได้ออกมามีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาในที่สุด ซึ่งหากลองมองจากแรงจูงใจที่เกิดขึ้นแล้ว คนที่เข้ามาในสังคมนี้มักจะเป็นคนที่มีความภูมิใจที่ได้เผยแพร่สิ่งที่ตนเองรู้ และทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้ในเรื่องต่างๆ ในลักษณะเนื้อหา ทั้งวิชาการ ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ สินค้า หรือบริการ โดยส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน เช่น Wikipedia, Google earth และ Google Maps เป็นต้น

             5) ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้มีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ (Online games) ซึ่งเป็นเว็บที่นิยมมากเพราะเป็นแหล่งรวบรวมเกมไว้มากมาย มีลักษณะเป็นวิดีโอเกมที่ผู้ใช้สามารถเล่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์นี้มีลักษณะเป็นเกม 3 มิติที่ผู้ใช้นำเสนอตัวตนตามบทบาทในเกม ผู้เล่นสามารถติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นคนอื่นๆ ได้เสมือนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง สร้างความรู้สึกสนุกเหมือนได้มีสังคมของผู้เล่นที่ชอบในแบบเดียวกัน อีกทั้งยังมีกราฟิกที่สวยงามดึงดูดความสนใจและมีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เล่นรู้สึกบันเทิง เช่น Second Life, Audition, Ragnarok, Pangya และ World of Warcraft เป็นต้น

            6) เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการงาน โดยจะเป็นการนำประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์มาใช้ในการเผยแพร่ประวัติผลงานของตนเอง และสร้างเครือข่ายเข้ากับผู้อื่น นอกจากนี้บริษัทที่ต้องการคนมาร่วมงาน สามารถเข้ามาหาจากประวัติของผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ได้ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ได้แก่ Linkedin เป็นต้น

             7) เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องผู้ใช้ด้วยกันเองโดยตรง จึงทำให้เกิดการสื่อสารหรือแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และตรงถึงผู้ใช้ทันที ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ Skype และ BitTorrent เป็นต้น

ผู้ให้และผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
  1. กลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Service : SNS)
1.1   สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network)
  • Facebook
  • Twitter
  • Bloggang
1.2   สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network)
  • YouTube
  • Flickr
1.3   ความชอบหรือคลั่งไคล้ในสิ่งเดียวกัน (Passion Network)
  • Ning
  • Digg
  • Pantip
1.4   เวทีทำงานร่วมกัน (Collaboration Network)
  • Wikipedia
  • Google Earth
1.5   ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality)
  • Second Life
  • World of Warcraft
1.6   เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) ลิงด์อิน (LinkedIn)
1.7   เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P)
  • Skype
  • BitTorrent
  1. กลุ่มผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
               2.1   กลุ่ม Generation Z กลุ่มผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 6-10 ปี ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเองผ่านเกมออนไลน์
               2.2   กลุ่ม Generation Y และ Generation D (Digital) ผู้มีอายุระหว่าง 15-30 ปี จะใช้เพื่อความบันเทิงและการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มเพื่อน
               2.3   กลุ่ม Generation X ผู้มีอายุระหว่าง 30-45 ปี ใช้เป็นเครื่องมือทาง การสื่อสารการตลาด การค้นหาความรู้ การอ่านข่าวสารประจำวัน
เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  1. ด้านการสื่อสาร (Communication)
  2. ด้านการศึกษา (Education)
  3. ด้านการตลาด (Marketing)
  4. ด้านบันเทิง (Entertainment)
  5. ด้านสื่อสารการเมือง (Communication Political)
ผลกระทบของเครือข่ายสังคมออนไลน์
         ผลกระทบเชิงบวก
  • เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง
  • ใช้ในการแบ่งปันข้อมูล รูปภาพ ความรู้ให้กับผู้อื่น
  • เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
  • เป็นเครือข่ายกระชับมิตร สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
  • ช่วยในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
  • ช่วยในการพัฒนาชุมชน
  • เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ สร้างความเชื่อมั่น สร้างความสัมพันธ์ สร้างกิจกรรม
           ผลกระทบเชิงลบ
  • เป็นช่องทางที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้างได้ง่าย
  • หากผู้ใช้หมกหมุ่นกับการเข้าร่วมเครือข่ายสังคมออนไลน์มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  • เป็นช่องทางที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กระแสสังคมในเรื่องเชิงลบ และอาจทำให้เกิดกรณีพิพาทบานปลาย
  • ภัยคุกคามจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเผยแพร่ภาพและข้อความอันมีลักษณะดูหมิ่นและไม่เหมาะสมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
สรุป
เครือข่ายสังคมออนไลน์นับได้ว่าเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อสื่อสาร แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล และทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีการเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการตอบสนอง ความต้องการทางสังคมที่มุ่งเน้นในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ ถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ยุคเทคโนโลยี ดังนั้นเราในฐานะผู้ใช้จักต้องรู้ให้เท่าทันเครือข่ายสังคมออนไลน์ และควรที่จะต้องรู้จักหน้าที่ของตนเองในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หากเรารู้จักหน้าที่และปฏิบัติตนได้ตามหน้าที่แล้วนั้นสังคมที่เราอยู่ย่อมเป็นสังคมที่สงบสุข
อ้างอิง
 
Phutthawan Kaewket. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :https://plus.google.com/108139638310726389561. 
              วันที่สืบค้นข้อมูล 26/2/60.


ข้อดี - ข้อเสีย ของ Social Network

ข้อดี - ข้อเสีย ของ Social Network


..........ในโลกไซเบอร์ก็เหมือนสังคมรอบข้างตัวเรา มีใส่หน้ากาก กัดกันข้างหลัง มีนิสัยดีนิสัยชั่ว มีการสงสัย การระวังคนรอบข้าง มีหมดทุกอย่าง เพราะมันเป็นธรรมดาของโลก แต่เราจะสามารถคัดกรองกลุ่มคนยังไงได้นั้น ก็ต้องใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ หรือพิจารณา คนที่เราคิดว่าน่าจะเป็นคนดี สักวันหนึ่งอาจจะกลับกลายเป็นคนชั่วไปก็เป็นได้ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นแน่นอน เพียงแต่เราจะมองโลกในแง่บวก หรือแง่ลบ เท่านั้นเอง เช่นเดียวกับเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอก็เฉกเช่นเดียวกับคนที่มีทั้งคนดีและคนชั่ว และใน Social Network ก็เช่นเดียวกัน ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ประโยชน์ของ Social Network
...............บริษัทต่างๆเริ่มหันมาใช้ Blog ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการมากขึ้น เนื่องจากจัดการใช้งาน และอัพเดทให้ทันสมัยได้ง่าย อีกทั้งยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดี เพราะ Blog ส่วนใหญ่จะสำรวจและแยกประเภทความสนใจของสมาชิกอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูก และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าผ่านข้อความแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย

ข้อดีของ Social Network
  • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้

  • เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว

  • เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น

  • ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

  • ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น

  • คลายเคลียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ

  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
ข้อเสียของ Social Network
  • เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้

  • Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์

  • เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น

  • ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้

  • ผู้ใช้ที่เล่น social  network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้      

  • ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ social  network มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่ำลงได้

  • จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์
 อ้างอิง

กันยารัตน์ สมเกตุ.(ออนไลน์). แหล่งที่มา                    :http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/tech03/26/contact.html.
  วันที่สืบค้นข้อมูล 26/2/2560.






สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

แนวทางการปฏิบัติ และสรุปรายละเอียด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ rพรบ คอมพิวเตอร์

    เอกสารฉบับนี้สรุปเนื้อหาจาก 1) พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550) และ 2) ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลทางจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (ประกาศ ICT) ซึ่งคัดเฉพาะส่วนที่มีผลบังคับใช้กับผู้ดูแลและผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์ทุกท่าน เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น ส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆให้ระบบ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆเข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิด ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการ กระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 

1. คำแนะนำวิธีปฏิบัติ ตาม พรบ. ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550
  • ·   ไม่ตัดต่อเผยแพร่ภาพตัดต่อของผู้อื่น ที่ทำให้เขาเสียหายหรือเสียชื่อเสียง
  • ·   ก่อนดาวโหลดโปรแกรมหรือข้อมูลจากเว็บไซต์ ควรอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดเสียก่อน
  • ·   ไม่ฟอร์เวิร์ดอีเมล์ หรือ Clip ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความไม่เหมาะสม
  • ·   ไม่เผยแพร่ Spam mail หรือไวรัส
  • ·   ไม่เปิดเผยมาตรการระบบคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่นล่วงรู้
  • ·   ไม่ขโมยข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  • ·   ระวังการ Chat กับคนแปลกหน้า อย่าหลงเชื่อเขาง่ายๆ
  • ·   อย่าลืม ลงโปรแกรมป้องกันไวรัสและสปายแวร์
  • ·   ไม่แฮกระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  • ·   ไม่ควรบันทึก Password ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และควรเปลี่ยน Password ทุกๆ 3 เดือน
  • ·   ไม่แอบดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  • ·   ไม่นำเข้าข้อมูลหรือภาพลามก อนาจาร เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์

2. สรุป เนื้อหาพรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550 และประกาศ ICT

การกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดตามพรบ. (สำหรับผู้ใช้งาน)
  1. การล่วงล้ำเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ( เช่นหน้าเวบหรือdirectory/ folder) ของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกันไว้โดยเฉพาะ รวมถึงหากผู้ที่ทราบมาตรการการป้องกันนำมาตรการที่ล่วงรู้มาไปเผยแพร่
  2. การดักจับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการสื่อสาร
  3. การทำลาย แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ
  4. การกระทำการใดๆเพื่อทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ หรือถูกรบกวน
  5. การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ Email ที่ปกปิด/ปลอมแปลงที่มาของข้อมูล (spam mail) ที่เป็นการรบกวนผู้อื่น
  6. การนำข้อมูลไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศ ตัวอย่างข้อมูลไม่เหมาะสมได้แก่: ข้อมูลปลอม, ข้อมูลอันเป็นเท็จ, ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ, และภาพลามก
  7. การเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว
  8. การยอมให้ผู้อื่นบรรจุข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ลงบนระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนรับผิดชอบ
  9. การสร้าง ตัดต่อ ดัดแปลงภาพของผู้อื่น ที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรืออับอาย
  10. การเผยแพร่ software ที่เป็นเครื่องมือในการทำผิดตามข้ออื่นๆ

ข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ดูแลระบบ

  1. ไม่สนับสนุนหรือยินยอมให้ผู้ใช้บริการนำเข้า หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเขาไปในระบบคอมพิวเตอร์
  2. ระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
  3. ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการสืบสวน สอบสวน หาตัวผู้กระทำผิด
  4. ผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบไว้อย่างน้อย 90 วัน
  5. ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องได้รับการปกป้องให้มีความน่าเชื่อถือ และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงได้จากผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ การเข้าถึงข้อมูล (แต่ห้ามเปลี่ยนแปลง) จะกระทำได้โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
  6. ข้อมูลที่เก็บนั้น จะต้องครอบคลุมการเข้าใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกรูปแบบ (เช่นทั้ง wired และ wireless) และจะต้องสามารถระบุตัวผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง
  7. ผู้ให้บริการต้องตั้งเวลาของอุปกรณ์ทุกชนิดให้ตรงกับสากล โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที
  8. ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บคือ
  •     การเข้าถึงระบบเครือข่าย: User ID, วันเวลาการเข้าใช้งาน, IP Address ของเครื่องที่ใช้, และหมายเลขสายที่เรียกเข้า (เช่น กรณี Modem หรือ ADSL)
  •     E-Mail: Message ID, Email ของผู้รับและผู้ส่ง, วันเวลาการติดต่อและใช้งาน, IP Address ของเครื่องที่เข้ามาใช้งาน, User ID ของผู้ใช้งาน (ถ้ามี), POP3/IMAP4 Log
  •      File Transfer/File Sharing: วันเวลาการเข้าใช้งาน, IP Address ของเครื่องผู้ใช้, User ID (ถ้ามี), path และ file name
  •      Web Server: วันเวลาการติดต่อ, IP Address ของเครื่องผู้ใช้, คำสั่งการใช้งานเวบ, URI (หน้าเวบที่เรียกใช้)
  •     Instant Messaging (เช่น MSN): วันเวลาการติดต่อ, IP Address ของผู้ใช้


บทกำหนดโทษ
ฐานความผิด
โทษจำคุก
โทษปรับ
มาตรา ๕ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๖ เดือน
ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๖ ล่วงรู้และเผยแพร่มาตรการป้องกัน
ไม่เกิน ๑ ปี
ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๗ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๒ ปี
ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๓ ปี
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๙ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๑ ส่งข้อมูล หรือ E-Mail ที่ปกปิดแหล่งที่มา และเป็นการรบกวนผู้อื่น
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๒ หากการกระทำ ข้อ ๙ และ ข้อ ๑๐
(๑) ก่อความเสียหายแก่ประชาชน ทั้งทันทีและภายหลัง
(๒) กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยประเทศ/เศรษฐกิจถ้าเป็นเหตุให้เสียชีวิต
ไม่เกิน ๑๐ ปี
๓ ถึง ๑๕ ปี
๑๐ ถึง ๒๐ ปี
ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๖๐,๐๐๐ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ไม่มี
มาตรา ๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ Software ที่ใช้กระทำผิด
ไม่เกิน ๑ ปี
ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๔ เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๕ ISP ที่ยอมให้เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๖ การตัดต่อภาพผู้อื่น และทำให้เสียหาย (ถ้าสุจริต หรือไม่เสียหาย ไม่มีความผิด)
ไม่เกิน ๓ ปี
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท


อ้างอิง

ฝ่ายพัฒนาและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 
           (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://it.sci.ubu.ac.th/document/law/index.cfm.วันที
           สืบค้นข้อมูล 26/2/2560.

100 คีย์ลัด(Hotkey) ที่ควรรู้

100 คีย์ลัด(Hotkey) ที่ควรรู้


                                               

            หลายคนทำงานกับคอมพิวเตอร์ โดยที่เคยชินกับการใช้เมาส์มากเกินไป จนบางครั้งถ้าเมาส์เสีย เครื่องแฮงค์ ทำอะไรไม่ได้ ก็คิดจะ Restart อย่างเดียว ในของเรื่องการใช้คีย์ลัดมีประโยชน์กับหลายๆ คนมาก ถ้าใช้ไปบ่อยๆ คุณอาจจะชอบใช้คีย์บอร์ดขึ้นมามากกว่าเก่าก็ได้ เพราะสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น และประหยัดเวลาด้วยครับ ลองไปดูกันเลยดีกว่า 
  1. CTRL + C (Copy) 
  2. CTRL + X (Cut) 
  3. CTRL + V (Paste) 
  4. CTRL + Z (Undo) 
  5. DELETE(Delete) 
  6. SHIFT + DELETE (ลบรายการที่เลือกอย่างถาวรได้โดยไม่ต้องวางรายการใน Recycle Bin) 
  7. CTRL ขณะที่ลากรายการ (คัดลอกรายการที่เลือก) 
  8. CTRL + SHIFT ขณะที่ลากรายการ (สร้างทางลัดไปยังรายการที่เลือก) 
  9. F2 คีย์(เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก) 
  10. CTRL + ลูกศรขวา (ย้ายจุดแทรกไปยังจุดเริ่มต้นของคำถัดไป) 
  11. CTRL + ลูกศรซ้าย (ย้ายจุดแทรกไปยังจุดเริ่มต้นของคำก่อนหน้า) 
  12. CTRL + ลูกศรลง (ย้ายจุดแทรกไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าถัดไป) 
  13. CTRL + ลูกศรขึ้น (ย้ายจุดแทรกไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าก่อนหน้า) 
  14. CTRL + SHIFT กับใด ๆ ของปุ่มลูกศร (ไฮไลต์บล็อกข้อความ) 
  15. SHIFT กับใด ๆ ของปุ่มลูกศร (เลือกได้มากกว่าหนึ่งรายการในหน้าต่างหรือบน Desktopหรือข้อความที่เลือกในเอกสาร) 
  16. CTRL + A (เลือกทั้งหมด) 
  17. คีย์ F3 (Searchสำหรับไฟล์หรือโฟลเดอร์) 
  18. ALT+ ENTER (ดูคุณสมบัติของรายการที่เลือก) 
  19. ALT + F4 (ปิด ที่ใช้งานอยู่รายการหรือออกจาก ที่ใช้งานอยู่โปรแกรม) 
  20. ALT + ENTER (แสดงคุณสมบัติของวัตถุที่เลือก) 
  21. ALT + SPACEBAR (เปิดทางลัด เมนูสำหรับหน้าต่างที่ใช้งาน) 
  22. CTRL + F4 (ปิดเอกสารที่ใช้งานในโปรแกรมที่ช่วยให้คุณสามารถมีเอกสารหลายเปิดพร้อมกัน) 
  23. ALT + TAB (สวิทช์ระหว่าง เปิดข้อมูลรายการ) 
  24. ALT + ESC (วงจรผ่านรายการในคำสั่งว่าพวกเขาได้เปิด) 
  25. ปุ่ม F6 (สลับไป หน้าจอองค์ประกอบในหน้าต่างหรือบน Desktop) 
  26. คีย์ F4 (แสดงรายการแอดเดรสบาร์ใน My Computer หรือ WindowsExplorer) 
  27. SHIFT + F10 (แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก) 
  28. ALT + SPACEBAR (แสดงเมนูระบบสำหรับหน้าต่างที่ใช้งาน) 
  29. CTRL + ESC (แสดงเมนู Start) 
  30. ALT + อักษรขีดเส้นใต้ในชื่อเมนู (แสดงเมนูที่เกี่ยวข้อง) 

อักษรตัวขีดเส้นใต้ใน คำสั่งชื่อบนเมนูเปิด (ดำเนินการคำสั่งที่เกี่ยวข้อง) 
  1. ปุ่ม F10 (เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่ใช้งาน) 
  2. ลูกศรขวา (เปิดเมนูถัดไปทางขวาหรือเปิดเมนูย่อย) 
  3. ลูกศรซ้าย (เปิดเมนูถัดไปทางซ้ายหรือปิดเมนูย่อย) 
  4. ปุ่ม F5 (อัปเดทหน้าต่างที่ใช้งาน) 
  5. BACKSPACE (ดูโฟลเดอร์หนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer) 
  6. ESC (ยกเลิกงานปัจจุบัน) 
  7. SHIFT เมื่อคุณใส่แผ่นซีดีรอมลงใน CD - ROM ขับ(ป้องกันไม่ให้ซีดีรอมจาก โดยอัตโนมัติเล่น) 

กล่องโต้ตอบ แป้นพิมพ์ลัด 

  1. CTRL + TAB (เดินหน้าต่อไปตามแท็บ) 
  2. CTRL + SHIFT + TAB (Move ย้อนกลับไปตามแท็บ) 
  3. TAB (เดินหน้าต่อไปผ่านตัวเลือก) 
  4. SHIFT + TAB (เลื่อนไปข้างหลังผ่านตัวเลือก) 
  5. ALT + อักษรขีดเส้นใต้ (ดำเนินการคำสั่งที่สอดคล้องกันหรือเลือกตัวเลือกที่เกี่ยวข้อง) 
  6. ENTER (ดำเนินการคำสั่งสำหรับตัวเลือกที่ใช้งานอยู่หรือปุ่ม) 
  7. SPACEBAR (เลือกหรือล้างกล่องกาเครื่องหมายหากตัวเลือกที่ใช้งานอยู่กล่องกาเครื่องหมาย) 
  8. ปุ่มลูกศร (เลือกปุ่มหากตัวเลือกที่ใช้งานอยู่เป็นกลุ่มของปุ่มตัวเลือก) 
  9. คีย์ F1 (Help Display) 
  10. คีย์ F4 (แสดงรายการในรายการที่ใช้งาน) 
  11. BACKSPACE (เปิดโฟลเดอร์หนึ่งระดับหากโฟลเดอร์ที่ถูกเลือกในบันทึกเป็นหรือเปิดกล่องโต้ตอบ) 

M *CROผู้ทรง $ แป้นพิมพ์ลัดธรรมชาติ 
  1. Windows Logo (แสดงหรือซ่อนเมนู Start) 
  2. Windows Logo + BREAK (แสดงกล่องโต้ตอบคุณสมบัติระบบ) 
  3. Windows Logo + D (แสดงเดสก์ทอป) 
  4. Windows Logo + M (Minimize ทั้งหมดของ Windows) 
  5. Windows Logo + SHIFT + M (Restore หน้าต่างย่อเล็กสุด) 
  6. Windows Logo + E (Open My Computer) 
  7. Windows Logo + F (ค้นหาแฟ้มหรือโฟลเดอร์) 
  8. CTRL + Windows Logo + F (ค้นหาคอมพิวเตอร์) 
  9. โลโก้ Windows + F1 จอแสดงผล ( วิธีใช้) 
  10. Windows Logo + L (ล็อกแป้นพิมพ์) 
  11. Windows Logo + R (เปิดกล่องโต้ตอบ Run) 
  12. Windows Logo + U (Open Utility ผู้จัดการ) 

แป้นพิมพ์ลัดสำหรับการเข้าถึง 
  1. Right SHIFT สำหรับแปดวินาที (Switch FilterKeys หรือปิด) 
  2. Left ALT + SHIFT ซ้าย +PRINTSCREEN (Switch High Contrast หรือปิด) 
  3. ALT ซ้าย + SHIFT ซ้าย + NUM LOCK (สวิทช์MouseKeys หรือปิด) 
  4. SHIFT ห้าครั้ง (สลับ StickyKeys หรือปิด) 
  5. NUM LOCK สำหรับห้าวินาที (Switch ToggleKeys หรือปิด) 
  6. Windows Logo + U (Open Utility ผู้จัดการ) 

แป้นพิมพ์ลัด Windows Explorer 
  1. END (แสดงด้านล่างของหน้าต่างที่ใช้งาน) 
  2. HOME (แสดงด้านบนของหน้าต่างที่ใช้งาน) 
  3. NUM LOCK + เครื่องหมายดอกจัน (*) (แสดงทั้งหมดของโฟลเดอร์ย่อยที่อยู่ภายใต้โฟลเดอร์ที่เลือก) 
  4. NUM LOCK + เครื่องหมายบวก (+) (แสดงเนื้อหาของโฟลเดอร์ที่เลือก) 
  5. NUM LOCK + เครื่องหมายลบ (--) (ยุบโฟลเดอร์ที่เลือก) 
  6. ลูกศรซ้าย (ยุบการเลือกปัจจุบันหากมีการขยายตัวหรือเลือกโฟลเดอร์หลัก) 
  7. ลูกศรขวา (แสดงการเลือกปัจจุบันหากมีการยุบหรือเลือกโฟลเดอร์ย่อยแรก) 

แป้นพิมพ์ลัดสำหรับแผนที่ตัวอักษร 
            หลังจากที่คุณสองเท่าคลิกตัวอักษรบนตารางของอักขระที่คุณสามารถเลื่อนตารางโดยใช้แป้นพิมพ์ลัด : 
  1. ลูกศรขวา (ย้ายไปที่หรือขวาไปยังจุดเริ่มต้นของบรรทัดถัดไป) 
  2. ลูกศรซ้าย (ย้ายไปทางซ้ายหรือไปยังจุดสิ้นสุดของบรรทัดก่อนหน้า) 
  3. ลูกศรขึ้น (เลื่อนขึ้นหนึ่งแถว) 
  4. ลูกศรลง (ย้ายลงหนึ่งแถว) 
  5. PAGE UP (เลื่อนขึ้นหนึ่งหน้าจอในเวลา) 
  6. PAGE DOWN (เลื่อนลงหนึ่งหน้าจอในเวลา) 
  7. หน้าแรก (ย้ายไปที่จุดเริ่มต้นของบรรทัด) 
  8. END (ย้ายไปยังจุดสิ้นสุดของบรรทัด) 
  9. CTRL + HOME (เลื่อนไปยังอักขระแรก) 
  10. CTRL + END (เลื่อนไปยังตัวอักษรสุดท้าย) 
  11. SPACEBAR (สลับระหว่างโหมดขยายและปกติเมื่อมีการเลือกอักขระ) 

ม. ผู้ทรง * CRO $ การจัดการ Console(MMC) แป้นพิมพ์ลัดของหน้าต่างหลัก 
  1. CTRL + O (เปิดบันทึก คอนโซล) 
  2. CTRL + N (เปิดคอนโซลใหม่) 
  3. CTRL + S (บันทึกเปิดคอนโซล) 
  4. CTRL + M (เพิ่มหรือลบรายการคอนโซล) 
  5. CTRL + W (เปิดหน้าต่างใหม่) 
  6. ปุ่ม F5 (อัปเดตเนื้อหาของหน้าต่างคอนโซลทั้งหมด) 
  7. ALT + SPACEBAR (แสดงเมนูหน้าต่าง MMC) 
  8. ALT + F4 (ปิดคอนโซล) 
  9. ALT + A (แสดง การกระทำเมนู) 
  10. ALT + V (แสดงเมนู View) 
  11. ALT + F (แสดงเมนู File) 
  12. ALT + O (แสดงเมนู Favorites) 
  13. MMC Console Window แป้นพิมพ์ลัด 
  14. CTRL + P (พิมพ์หน้าปัจจุบันหรือบานหน้าต่างที่ใช้งาน) 
  15. ALT + เครื่องหมายลบ (--) (แสดงเมนูหน้าต่างสำหรับหน้าต่างที่ใช้งานคอนโซล) 
  16. SHIFT + F10 (แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก Action) 
  17. คีย์ F1 (เปิดหัวข้อวิธีใช้ถ้ามีสำหรับรายการที่เลือก) 
  18. ปุ่ม F5 (อัปเดตเนื้อหาของหน้าต่างคอนโซลทั้งหมด) 
  19. CTRL + F10 (Maximize หน้าต่างคอนโซลที่ใช้งาน) 
  20. CTRL + F5 (คืนค่าหน้าต่างที่ใช้งานคอนโซล) 
  21. ALT + ENTER (แสดงกล่องโต้ตอบคุณสมบัติถ้ามีสำหรับรายการที่เลือก) 
  22. คีย์ F2 (เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก) 
  23. CTRL + F4 (ปิดหน้าต่างคอนโซลที่ใช้งานอยู่. เมื่อคอนโซลมีเพียงหน้าต่างคอนโซลหนึ่งทางลัดนี้จะปิดคอนโซล) 

Remote Desktopการเชื่อมต่อนำทาง 
  1. CTRL + ALT + END (เปิดเอ็ม * CRO $ Windows ผู้ทรง NT การรักษาความปลอดภัยกล่องโต้ตอบ) 
  2. ALT + PAGE UP (สลับระหว่างโปรแกรมจากซ้ายไปขวา) 
  3. ALT + PAGE DOWN (สลับระหว่างโปรแกรมจากขวาไปซ้าย) 
  4. ALT + INSERT (สลับไปตามโปรแกรมตามลำดับที่ใช้งานบ่อย) 
  5. ALT + HOME (แสดงเมนู Start) 
  6. CTRL + ALT + BREAK (สลับคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์ระหว่างหน้าต่างและเต็มจอ) 
  7. ALT + DELETE (แสดงเมนู Windows) 
  8. ลงชื่อเข้าใช้ CTRL + ALT + เครื่องหมายลบ (--) (กำหนด snapshot ของหน้าต่างที่ใช้งานในไคลเอนต์บน Terminal เซิร์ฟเวอร์คลิปบอร์ดและให้ฟังก์ชันการทำงานเดียวกันกับการกดปุ่ม PRINT SCREEN บนเครื่องคอมพิวเตอร์.) 
  9. CTRL + ALT + เครื่องหมายบวก (+) (กำหนด snapshot ของพื้นที่หน้าต่างไคลเอนต์ทั้งหมดใน Terminal Serverคลิปบอร์ดและให้ฟังก์ชันการทำงานเช่นเดียวกับการกด ALT + PRINT SCREEN บนเครื่องคอมพิวเตอร์.) 
  10. M * CRO ผู้ทรง Internet Explorer $ นำทาง 
  11. CTRL + B (เปิดการจัดระเบียบ Favorites กล่องโต้ตอบ) 
  12. CTRL + E (เปิด แถบค้นหา) 
  13. CTRL + F (Start ค้นหา Utility) 
  14. CTRL + H (เปิดบาร์ประวัติ) 
  15. CTRL + I (เปิดแถบ Favorites) 
  16. CTRL + L (เปิดกล่องโต้ตอบเปิด) 
  17. CTRL + N (Start ตัวอย่างของเบราว์เซอร์ที่มีที่อยู่เว็บเดียวกัน) 
  18. CTRL + O (เปิดกล่องโต้ตอบเปิดให้เช่นเดียวกับ CTRL + L) 
  19. CTRL + P (เปิดกล่องโต้ตอบ) 
  20. CTRL + R (อัปเดทเว็บเพจปัจจุบัน) 
  21. CTRL + W (ปิดหน้าต่างปัจจุบัน) 

อ้างอิง
100 ปุ่มคีย์ลัด. (Hotkey). (ออนไลน์). แหล่งที่มา          
             : 
http://www.ngoscyber.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?
             topic_id=1918&auto_id=18&TopicPk=1735. วันที่สืบค้นข้อมูล 26/2/2560.
เกร็ดความรู้ไอที. (ออนไลน์). แหล่งที่มา            
             : http://chilchil.swu.ac.th/wiki/index.php. วันที่สืบค้นข้อมูล 26/2/2560.