แนวทางการปฏิบัติ และสรุปรายละเอียด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เอกสารฉบับนี้สรุปเนื้อหาจาก 1) พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550) และ 2) ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลทางจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (ประกาศ ICT)
ซึ่งคัดเฉพาะส่วนที่มีผลบังคับใช้กับผู้ดูแลและผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์ทุกท่าน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น
ส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆให้ระบบ
คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้
หรือใช้วิธีการใดๆเข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข
หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร
ย่อมก่อให้เกิด ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ
รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน
สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการ กระทำดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
1. คำแนะนำวิธีปฏิบัติ
ตาม พรบ. ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550
- · ไม่ตัดต่อเผยแพร่ภาพตัดต่อของผู้อื่น ที่ทำให้เขาเสียหายหรือเสียชื่อเสียง
- · ก่อนดาวโหลดโปรแกรมหรือข้อมูลจากเว็บไซต์ ควรอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดเสียก่อน
- · ไม่ฟอร์เวิร์ดอีเมล์ หรือ Clip ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความไม่เหมาะสม
- · ไม่เผยแพร่ Spam mail หรือไวรัส
- · ไม่เปิดเผยมาตรการระบบคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่นล่วงรู้
- · ไม่ขโมยข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- · ระวังการ Chat กับคนแปลกหน้า อย่าหลงเชื่อเขาง่ายๆ
- · อย่าลืม ลงโปรแกรมป้องกันไวรัสและสปายแวร์
- · ไม่แฮกระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- · ไม่ควรบันทึก Password ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และควรเปลี่ยน Password ทุกๆ 3 เดือน
- · ไม่แอบดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- · ไม่นำเข้าข้อมูลหรือภาพลามก อนาจาร เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
2. สรุป
เนื้อหาพรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550 และประกาศ ICT
การกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดตามพรบ.
(สำหรับผู้ใช้งาน)
- การล่วงล้ำเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ( เช่นหน้าเวบหรือdirectory/ folder) ของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกันไว้โดยเฉพาะ รวมถึงหากผู้ที่ทราบมาตรการการป้องกันนำมาตรการที่ล่วงรู้มาไปเผยแพร่
- การดักจับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการสื่อสาร
- การทำลาย แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ
- การกระทำการใดๆเพื่อทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ หรือถูกรบกวน
- การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ Email ที่ปกปิด/ปลอมแปลงที่มาของข้อมูล (spam mail) ที่เป็นการรบกวนผู้อื่น
- การนำข้อมูลไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศ ตัวอย่างข้อมูลไม่เหมาะสมได้แก่: ข้อมูลปลอม, ข้อมูลอันเป็นเท็จ, ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ, และภาพลามก
- การเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว
- การยอมให้ผู้อื่นบรรจุข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ลงบนระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนรับผิดชอบ
- การสร้าง ตัดต่อ ดัดแปลงภาพของผู้อื่น ที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรืออับอาย
- การเผยแพร่ software ที่เป็นเครื่องมือในการทำผิดตามข้ออื่นๆ
ข้อปฏิบัติ
สำหรับผู้ดูแลระบบ
- ไม่สนับสนุนหรือยินยอมให้ผู้ใช้บริการนำเข้า หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเขาไปในระบบคอมพิวเตอร์
- ระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
- ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการสืบสวน สอบสวน หาตัวผู้กระทำผิด
- ผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบไว้อย่างน้อย 90 วัน
- ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องได้รับการปกป้องให้มีความน่าเชื่อถือ และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงได้จากผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ การเข้าถึงข้อมูล (แต่ห้ามเปลี่ยนแปลง) จะกระทำได้โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
- ข้อมูลที่เก็บนั้น จะต้องครอบคลุมการเข้าใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกรูปแบบ (เช่นทั้ง wired และ wireless) และจะต้องสามารถระบุตัวผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง
- ผู้ให้บริการต้องตั้งเวลาของอุปกรณ์ทุกชนิดให้ตรงกับสากล โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที
- ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บคือ
- การเข้าถึงระบบเครือข่าย: User ID, วันเวลาการเข้าใช้งาน, IP Address ของเครื่องที่ใช้, และหมายเลขสายที่เรียกเข้า (เช่น กรณี Modem หรือ ADSL)
- E-Mail: Message ID, Email ของผู้รับและผู้ส่ง, วันเวลาการติดต่อและใช้งาน, IP Address ของเครื่องที่เข้ามาใช้งาน, User ID ของผู้ใช้งาน (ถ้ามี), POP3/IMAP4 Log
- File Transfer/File Sharing: วันเวลาการเข้าใช้งาน, IP Address ของเครื่องผู้ใช้, User ID (ถ้ามี), path และ file name
- Web Server: วันเวลาการติดต่อ, IP Address ของเครื่องผู้ใช้, คำสั่งการใช้งานเวบ, URI (หน้าเวบที่เรียกใช้)
- Instant Messaging (เช่น MSN): วันเวลาการติดต่อ, IP Address ของผู้ใช้
บทกำหนดโทษ
ฐานความผิด
|
โทษจำคุก
|
โทษปรับ
|
มาตรา
๕ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบ
|
ไม่เกิน
๖ เดือน
|
ไม่เกิน
๑๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๖ ล่วงรู้และเผยแพร่มาตรการป้องกัน
|
ไม่เกิน
๑ ปี
|
ไม่เกิน
๒๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๗ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบ
|
ไม่เกิน
๒ ปี
|
ไม่เกิน
๔๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ
|
ไม่เกิน
๓ ปี
|
ไม่เกิน
๖๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๙ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
|
ไม่เกิน
๕ ปี
|
ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ
|
ไม่เกิน
๕ ปี
|
ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๑๑ ส่งข้อมูล หรือ E-Mail
ที่ปกปิดแหล่งที่มา และเป็นการรบกวนผู้อื่น
|
ไม่เกิน
๕ ปี
|
ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๑๒ หากการกระทำ ข้อ ๙ และ ข้อ ๑๐
(๑) ก่อความเสียหายแก่ประชาชน ทั้งทันทีและภายหลัง (๒) กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยประเทศ/เศรษฐกิจถ้าเป็นเหตุให้เสียชีวิต |
ไม่เกิน
๑๐ ปี
๓ ถึง ๑๕ ปี ๑๐ ถึง ๒๐ ปี |
ไม่เกิน
๒๐๐,๐๐๐ บาท
๖๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐ บาท ไม่มี |
มาตรา
๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ Software
ที่ใช้กระทำผิด
|
ไม่เกิน
๑ ปี
|
ไม่เกิน
๒๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๑๔ เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
|
ไม่เกิน
๕ ปี
|
ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๑๕ ISP
ที่ยอมให้เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
|
ไม่เกิน
๕ ปี
|
ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
|
มาตรา
๑๖ การตัดต่อภาพผู้อื่น และทำให้เสียหาย (ถ้าสุจริต
หรือไม่เสียหาย ไม่มีความผิด)
|
ไม่เกิน
๓ ปี
|
ไม่เกิน
๖๐,๐๐๐ บาท
|
อ้างอิง
ฝ่ายพัฒนาและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://it.sci.ubu.ac.th/document/law/index.cfm.วันที
สืบค้นข้อมูล 26/2/2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น